วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

แสงและทัศนอุปกรณ์

แสงและทัศนอุปกรณ์

        ในชีวิตประจำวันเราได้รับแสงจากแหล่งกำเนิดแสงหลายขนิด เช่น ดวงอาทิตย์ หลอดไฟฟ้า  เทียนไข ตะเกียง แต่แสงส่วนใหญ่เป็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์รู้จักกันมาเป็นเวลาเนิ่นนานมาแล้ว และรู้ว่าแสงจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดปรากฏการ์ณที่สวยงามบนท้องฟ้า เช่น รุ้ง พระอาทิตย์ทรงกลด สีของท้องฟ้าเช้าและยามเย็น หรือปรากฎการ์ณภาพลวงตาที่เรียกว่า มิราจเป็นต้น ถึงแม้ว่าเราจะมีความคุ้นเคยกับแสง เต่ทราบหรือไม่ว่าธรรมชาติแสงเป็นอย่างไร แสงเคลื่อนที่อย่างไร  และเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเท่าไร

        ก่อนศตวรรษที่ 17 การศึกษาเรื่องแสงเชื่อกันว่า แสงเป็นอนุภาคที่ถูกส่งออกมาจากต้นกำเนิดแสง แสงสามารถผ่านทะลุวัตถุโปร่งใสและสะท้อนจากผิวของวัตถุทึบแสงได้ เมื่ออนุภาคเหล่านี้ผ่านเข้าสู่ตาจะทำให้เกิดความรู้สึกในการมองเห็น
     นิวตัน (Newton) ได้เสนอทฤษฎีอนุภาคของแสง (particle theory) ซึ่งสามารถนำไปใช้อธิบาย ปรากฏการณ์สะท้อนและการหักเหของแสง
     ฮอยเกนส์ ( Christain Huygen) ได้เสนอทฤษฏีเกี่ยวกับคลื่นแสง (Waves Theory) กล่าวว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเดินทางในลักษณะของคลื่น นอกจากนี้ยังได้แสดงให้เห็นว่า กฎการสะท้อน และการหักเหสามารถอธิบายได้โดยใช้ทฤษฎีคลื่นแสง
     ทอมัส ยัง (Thomas Young) ได้ค้นพบปรากฏการณ์การแทรกสอดของแสง
     เฟรสเนล (Augustin Fresnel) ได้ทำการทดลอง เกี่ยวกับการ แทรกสอด และการเลี้ยวเบนของแสง
     แสงช่วงที่ตาสามารถ มองเห็นมีค่าอยู่ระหว่าง 400 – 700 นาโนเมตร และมีความถี่อยู่ในช่วง 103-105 เฮิรตซ์ โดยแสงสีม่วงซึ่งมีความยาวคลื่นน้อยที่สุด หรือ ความถี่สูงสุด ส่วนแสงสีอื่น ๆ ให้สเปคตรัมของแสงในช่วงนี้ก็มีความยาวคลื่นสูงขึ้นตามลำดับ จนถึงแสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุดหรือมีความถี่ต่ำที่สุด ดังรูป
 

วีดีโอ เเสงเเละทัศนอุปกรณ์

เสนอ
อาจาร์ย ขนิษฐา  วรฮาด
จัดทำโดย
นางสาว  พรพิมล   พงษ์เผ่า
ชั้น ม.5/2 เลขที่ 17
โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม