เลนส์บาง

เลนส์บาง
เลนส์โดยทั่วไป จะมี 2 ชนิดย่อย ได้แก่เลนส์เว้า และเลนส์นูน
เลนส์แต่ละแบบจะมีจุดต่างๆ ซึ่งต้องรู้จัก
เป็นพื้นฐานดังรูป
จุด c , c' เรียกจุดศูนย์กลางความโค้งของเลนส์
จุด O เรียกจุดกลางเลนส์
เส้นตรง OC เรียกแกนมุขสำคัญ
ระยะจาก O ถึง C เรียกรัศมีความโค้ง (R)
 เลนส์นูนจะเป็นเลนส์รวมแสง กล่าวคือถ้า

เราให้แสงซึ่งมีรังสีขนานกับเส้นแกนมุขสาคัญมาตก
กระทบผ่านเลนส์นูน แสงหักเหของแสงขนานเหล่า
นี้จะไปตัดกันที่จุดกึ่งกลางระหว่างจุด C กับจุด O
    ฝั่งตรงข้ามเสมอ จุดที่แสงหักเหตัดนี้เรียกจุดโฟกัส (F)

และระยะห่างจากจุด O ถึงจุด F เรียกวา่ ความยาวโฟกัส (f )
เลนส์เว้าจะเป็นเลนส์กระจายแสง กล่าวคือ
เราให้แสงซึ่งมีรังสีขนานกับเส้นแกนมุขสำคัญมาตก
กระทบผ่านเลนส์เว้าแสงหักเหจะกระจายออกจาก
กนั ไม่สามารถมาตัดกันได้ แต่ถ้าเราลากเส้นสมมุติ
ย้อนถอยออกมาจากแสงหักเหแตล่ ะเส้น เส้นสมมุติ
เหลา่ นี้จะมาตัดกนั ที่จุดกึ่งกลางจุด O กบั จุด C ด้านหน้าเลนส์จุดตัดนี้เรียกจุดโฟกัส (F) เช่นกัน
และระยะห่างจากจุด O ถึงจุด F เรียกวา่ ความยาวโฟกัส (f ) แต่เป็นจุดโฟกัสและความยาว
โฟกัส เสมือนเท่า นั้นที่สาคัญ f = 2 Rเสมอ
การเกิดภาพโดยเลนส์นูนบาง


รูปที่ 1 เมื่อวัตถุอยู่ไกลกว่าจุด C จะเกิดภาพจริงหัวกลับอยู่ด้านหลังใกล้เลนส์นูน
รูปที่ 2 และ 3 เมื่อขยับวัตถุเข้าใกล้เลนส์ ภาพที่เกิดจะถอยไกลกระจกออกไป และขนาดใหญ่ขึ้น
รูปที่ 4 เมื่อวัตถุอยู่ที่จุดโฟกัสของเลนส์ แสงหักเหแต่ละเส้นจะขนานกัน จะไม่เกิดภาพใดๆ
รูปที่ 5 เมื่อวัตถุอยู่ใกล้กว่าจุดโฟกัส แสงหักเหแต่ละเส้นกระจายออกจากกันไม่ตัดกัน แต่แนวเส้นสมมุติถอยหลังไปจากแสงหักเหจะตัดกันได้ ทาให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
การเกิดภาพโดยเลนส์เว้าบาง
ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้า จะเป็นภาพเสมือนหัวตั้งขนาดภาพเล็กกว่าขนาดวัตถุ อยู่หน้าเลนส์ระยะภาพสั้นกว่าระยะวัตถุเสมอ
ลักษณะของภาพจริงที่เกิดจากเลนส์ 
1. หัวกลับ 
2. เกิดหลังเลนส์ 
3. เอาฉากมาตั้งรับได้ 
ลักษณะของภาพเสมือนที่เกิดจากเลนส์
1. หัวตั้ง
2. เกิดหน้าเลนส์
 3. เอาฉากมารับไม่ได้ แต่เห็นได้ด้วยตาเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น